เรียนรู้ STEM+A กับมิวเซียมสยาม : ปริศนาเสาพิศวง

กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ STEM+A กับมิวเซียมสยาม : ปริศนาเสาพิศวง


คำอธิบาย       

ตึก หรืออาคารเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีความคงทนแข็งแรงมาก ตึกมิวเซียมสยามสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และมีอายุครบ 100 ปี ในปีพ.ศ.2565 เป็นอาคารรูปแบบตะวันตกที่สร้างโดยสถาปิกชาวอิตาเลียน ชื่อ นายมาริโอ ตามาญโญ ออกแบบอาคารไว้หลายแห่ง เช่น พระที่นั่งอัมพรสถาน พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน บ้านนรสิงห์ (ปัจจุบันคือทำเนียบรัฐบาล) ห้องสมุดเนลสันเฮย์ และ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งอาคารเหล่านี้ล้วนมีอายุนับร้อยปี เช่นเดียวกับตึกมิวเซียมสยาม


อาคารเหล่านี้มีรูปลักษณ์ต่างกัน สร้างด้วยเทคนิคและวัสดุต่างกัน ประโยชน์ใช้สอยก็แตกต่างกันด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่อาคารทั้งหมดนี้มีเหมือนๆ กันคือ ความแข็งแรงทนทาน ยืนหยัดให้ผู้คนใช้งานมานานถึง 100 ปีได้แบบสบายๆ อะไรคือความลับและเบื้องหลังความทนทานของอาคารเหล่านี้?


เรามาทดลองทำกิจกรรมสนุกๆ เพื่อไขความลับว่าสถาปนิกทำอย่างไรให้อาคารแต่ละหลัง แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ และยังมีความสวยงามอยู่ของอาคาร 100 ปี


กิจกรรมนี้เหมาะกับ เด็กตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป


ระยะเวลาทำกิจกรรม  30 – 45 นาที


อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม

1) ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 2 ขวด

2) แผ่นกระดาษ A4 ประมาณ 10 แผ่น

3) กระดาษลูกฟูก/ ไม้อัด/ แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด 1 แผ่น

4) เทปกาว 1 ม้วน



02-เบื้องหลังปริศนาเสาพิศวง.png


อีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของโครงสร้างอาคาร ก็คือเสา


เสามีหลากหลายรูปทรง ทั้งเสากลม เสาสี่เหลี่ยม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของสถาปนิก


แล้วเสาแต่ละรูปทรงมีคุณสมบัติแตกต่างกันหรือเปล่า


01.jpg


ตามาญโญมีคำแนะนำและการทดลองสนุกๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของเสารูปทรงต่างๆ ลองหาสิ่งของเหล่านี้แล้วมาสนุกกัน


เริ่มการทดลอง

  • นำกระดาษ A4 มาม้วนในแนวนอนให้เป็นเสาทรงกระบอก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร เสา 1 ต้น ทำจากกระดาษ 1 แผ่นเท่านั้น
  • จากนั้น พับกระดาษเป็นเสาทรงสี่เหลี่ยมขนาด 5x5 เซนติเมตร อีก 1 ต้น


 

ลิขสิทธิ์ของมิวเซียมสยาม


ลองทดสอบดูว่า เสาต้นไหนรับน้ำหนักได้มากกว่ากัน โดยวางกระดาษลูกฟูกไว้บนเสา จากนั้นค่อย ๆ วางขวดน้ำลงบนกระดาษลูกฟูก


04.jpg


ลองสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ดูสิ เด็กๆ คิดว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เสารับน้ำหนักได้ต่างกัน และทำไมถึงเป็นอย่างนั้น


05.jpg


จริงๆ แล้ว รูปทรงของเสามีอะไรซ่อนอยู่มากกว่าความสวยงาม เช่น เสากลมกับเสาเหลี่ยมที่มีขนาดเท่ากัน เสากลมจะแข็งแรงกว่า เพราะในอาคารจริง แรงที่กระทำต่อเสาตึก จะไม่ใช่แรงจากน้ำหนักที่กดลงบนเสาตรงๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีแรงอื่นๆ กระทบด้านข้างเสาด้วย อาทิ แรงสั่นสะเทือนจากการจราจรรอบอาคาร หรือแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ซึ่งเสากลมจะถ่ายเทแรงเหล่านี้ไปตามผิวโค้งจนถึงพื้นดินได้ดีกว่าเสาเหลี่ยมผิวเรียบ


ปริศนาเสาพิศวง 2 : ปัจจัยของเสา


นอกจากรูปทรงของเสาจะมีผลต่อความสามารถในการรับน้ำหนักแล้ว ยังมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของเสา



06.jpg


เตรียมน้ำบรรจุขวดหรือถังน้ำหลายๆ ขนาดไว้ทดลองกัน


วางเสา 4 ต้นในระยะห่างเท่าๆ กัน จากนั้นวางแผ่นไม้ลงไปบนเสา


ทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนัก โดยวางขวดน้ำลงไปเรื่อยๆ จนกว่าเสาจะรับน้ำหนักไม่ไหว


เสาล้มลงเมื่อไหร่ ก็คำนวณน้ำหนักจากจำนวนขวดน้ำได้เลย

 

การคำนวณน้ำหนักโดยประมาณ: น้ำ 1 ลิตร หนัก 1 กิโลกรัม หรือ 1,000 กรัม


ดังนั้น น้ำขวดขนาด 1.5 ลิตร จะหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม และถังขนาด 6 ลิตร หนักประมาณ 6 กิโลกรัม



07.jpg


08.jpg


เมื่อเสาล้มลงแล้ว ให้ลองสร้างเสาใหม่ โดยปรับเปลี่ยนตัวแปรต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้เสาทั้ง 4 ต้นรับน้ำหนักได้มากที่สุด

  • รูปร่างของเสา (กลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม)
  • ขนาดของเสา หรือพื้นที่หน้าตัดของเสา (ใหญ่-เล็ก)
  • ความสูงของเสา (สูง-เตี้ย)
  • ระยะห่างระหว่างเสา (กว้าง-แคบ)


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมสำหรับโรงเรียน

เรียนรู้ STEM+A กับมิวเซียมสยาม : กำเนิดความงามของอาคาร

ไขความลับว่าสถาปนิกทำอย่างไรให้ตึกแข็งแรงทนทานมีอายุยาวนานได้เป็น 100 ปี ผ่านกิจกรรมทดลองเรียนรู้แบบบูรณาการ
ดูเพิ่ม
โปรแกรมสำหรับโรงเรียน

เรียนรู้ STEM+A กับมิวเซียมสยาม : ปฏิบัติการจัดวางพื้นที่

ไขความลับว่าสถาปนิกทำอย่างไรให้ตึกแข็งแรงทนทานมีอายุยาวนานได้เป็น 100 ปี ผ่านกิจกรรมทดลองเรียนรู้แบบบูรณาการ
ดูเพิ่ม
โปรแกรมสำหรับโรงเรียน

เรียนรู้ STEM+A กับมิวเซียมสยาม : เผยความลับผนัง 2 ชั้น

ไขความลับว่าสถาปนิกทำอย่างไรให้ตึกแข็งแรงทนทานมีอายุยาวนานได้เป็น 100 ปี ผ่านกิจกรรมทดลองเรียนรู้แบบบูรณาการ
ดูเพิ่ม