ตามาญโญในตัวต่อจิ๋ว
เรียนรู้การออกแบบและเทคนิคพิเศษในการสร้างตัวต่อสถาปัตยกรรมจิ๋ว จากผลงานในคอลเลคชันสถาปัตยกรรมของมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลี่ยน ผู้ออกแบบตึกมิวเซียมสยาม (ตึกกระทรวงพาณิชย์ ท่าเตียน) อาทิ บ้านนรสิงห์ สะพานมัฆวานรังสรรค์ วังมะลิวัลย์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน วังปารุสกวัน สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีรถไฟสวนจิตรลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม สถานีรถไฟกรุงเทพ ฯลฯ
ตึกมิวเซียมสยาม ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2465 ช่วงปลายรัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นอาคารสำนักงานของกระทรวงพาณิชย์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก แผนผังอาคารเป็นรูปแบบสมมาตรคล้ายอักษรตัว E มี 3 มุข หลังคาเป็นทรงปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าวสีแดง ตัวอาคารทาด้วยสีเหลือง
ในแบบตัวต่อจิ๋ว นายแพทย์ สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดชได้ย่ออัตราส่วนของตึกมิวเซียมสยามเป็น 1:630 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 195 ชิ้น
ตัวอย่างตัวต่อจิ๋วจำลองอาคารสถาปัตยกรรมที่ตามาญโญเป็นผู้ออกแบบ
ห้องสมุดเนลสันเฮย์ พ.ศ.2465 อัตราส่วน 1:325 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 370 ชิ้น
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ.2457 อัตราส่วน 1:450 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 181 ชิ้น
สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง พ.ศ.2458 อัตราส่วน 1:330 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 202 ชิ้น
สะพานมัฆวานรังสรรค์ พ.ศ.2444 อัตราส่วน 1:300 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 158 ชิ้น
บ้านนรสิงห์ (ทำเนียบรัฐบาล) พ.ศ.2469 อัตราส่วน 1:470 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 474 ชิ้น
สถานีรถไฟจิตรลดา พ.ศ. 2460 อัตราส่วน 1:430 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 334 ชิ้น
พระที่นั่งอภิเษกดุสิต พ.ศ. 2447 อัตราส่วน 1:285 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 194 ชิ้น
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ วังพญาไท พ.ศ.2462 อัตราส่วน 1:375 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 225 ชิ้น
พระตำหนักจิตรลดา วังปารุสก์ พ.ศ.2448 อัตราส่วน 475 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 405 ชิ้น
พระที่นั่งอนันตสมาคม พ.ศ.2459 อัตราส่วน 1:980 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 319 ชิ้น
สถานีรถไฟกรุงเทพฯ พ.ศ.2458 อัตราส่วน 1:545 ใช้จำนวนชิ้นตัวต่อทั้งสิ้น 268 ชิ้น